HOMECLASSESSERVICESABOUT USCONTACT USJPENTH

หลักสูตร: ดนตรีไทย


ดนตรีไทย

วงดนตรีไทยมี 3 ประเภท คือ

วงเครื่องสาย
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ

วงปี่พาทย์
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธาน

วงมโหรี
คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน

เครื่องดนตรีไทย

ระนาดเอก
รูปร่างลักษณะ ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ลูกระนาด ทำมาจากไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีประมาณ ๒๑-๒๒ ลูก ร้อยติดกันเป็นผืน มีขนาดลดหลั่นกัน แขวนไว้กับรางที่มีรูปร่าง คล้ายเรือ มีขาตั้งติดกับกล่องเสียง ใช้ตีด้วยไม้คู่ ไม้แข็ง และไม้นวม ลูกระนาดปรับเสียงสูงต่ำด้วยตะกั่วซึ่งผสมขี้ผึ้งติดไว้ ข้างใต้ลูกระนาด ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า พาด
ประวัติ มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย นิยมบรรเลงเดี่ยว หรือประสมวง ปี่พาทย์ วงมโหรี
จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดในภาคกลาง และบางจังหวัดในภาคอื่นๆ
โอกาสที่บรรเลง ทุกโอกาส
บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงพื้นบ้านภาคกลางและเพลงไทย
ระนาดทุ้ม
รูปร่างลักษณะ ระนาดทุ้มจัดเป็นเครื่องประเภทตีมีรูปร่างคล้ายระนาดเอก ตัวกล่องเสียงไม่มีขาตั้งตรงกลางลูกระนาดทำด้วยไม้ไผ่หรือ ไม้เนื้อแข็ง จำนวน ๑๖-๑๘ ลูก มีระดับเสียงต่ำกว่าระนาดเอก ใช้ทำเป็นทำนอง หยอกล้อกับระนาดเอก ตีด้วยไม้หุ้มนวมคู่หนึ่ง
ประวัติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งคิดขึ้นเพื่อบรรเลงคู่กับ ระนาดเอก
จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดในภาคกลาง และบางจังหวัด ในภาคอื่นๆ
โอกาสที่บรรเลง ทุกโอกาสเป็นเครื่องดนตรีหลักคู่กับระนาดเอก ในวงปี่พาทย์ วงมโหรี
บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงพื้นบ้านภาคกลาง และเพลงไทย
ขิม
 
ซอสามสาย
 
จะเข้
รูปร่างลักษณะ จะเข้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสาย และสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบัน นิยมใช้สายไนลอนแทน ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีสาย ๓ สาย ทำด้วยไหม ฟั่น และทองเหลือง
ประวัติ จะเข้ เดิมทีเป็นของอินเดียซึ่งทำเป็นรูปจระเข้ นิยมเล่น ไนไทยตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
จังหวัดที่นิยมบรรเลง จังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง
โอกาสที่บรรเลง งานรื่นเริงทุกโอกาส และงานศพจะเล่นประสม ในวงเครื่องสายมโหรี และเล่นเพลงสำเนียงมอญ
บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงพื้นบ้านภาคกลาง และเพลงไทยชั้นสูง เพลงเดี่ยว ที่เหมาะกับจะเข้ เช่น จีนขิมใหญ่ ลาวแพน
ฉิ่ง ฉาบ
รูปร่างลักษณะ
ฉิ่ง จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี สำหรับควบคุมจังหวะในวง ดนตรี ทำด้วยโลหะผสมเป็นรูปคล้ายถ้วยขนาดเล็ก ค่อนข้างหนา ตรงกลางมีรูร้อยเชือกติดกันเป็นคู่ๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๕-๗ ซม.
ฉาบ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี สำหรับตีประกอบจังหวะ มีรูปร่างคล้ายจาน ทำด้วยโลหะบางกว่าฉิ่ง มี ๒ ขนาด คือ ฉาบเล็ก และฉาบใหญ่
ประวัติ เครื่องดนตรี ๒ ชนิดนี้ มีเล่นกันมาช้านาน ในราวสมัย สุโขทัย
จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
โอกาสที่บรรเลง ทุกโอกาส
บทเพลงที่นิยมบรรเลง ทุกเพลง
Khong Mon
รูปร่างลักษณะ ฆ้องมอญ หรือฆ้องวงมอญ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วย โลหะ มีลักษณะเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ แต่แขวนติดกับราง ที่ทำเป็นกล่องเสียง เป็นรูปครึ่งวงกลมโค้งขึ้น ตีด้วยไม้หุ้มนวม คู่หนึ่ง ฆ้องมอญมีหลายขนาดคือ ฆ้องมอญวงเล็ก ฆ้องมอญกลาง ฆ้องมอญวงใหญ่ จำนวนฆ้องจะมีตั้งแต่ ๑๖ ลูก จนถึง ๑๘- ๑๙ ลูก
ประวัติ ฆ้องมอญได้รับอิทธิพลมาจากชาวรามัญ นิยมนำมาเล่น ในประเทศไทยบรรเลงเกี่ยวกับพิธีศพ ตั้งแต่สมัยรัชกาล ๔ และแพร่หลายมากในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา
จังหวัดที่นิยมบรรเลง ภาคกลางทุกจังหวัด และภาคอื่น บางจังหวัด
โอกาสที่บรรเลง พิธีศพ และการบรรเลงปี่พาทย์มอญทั่วไป
บทเพลงที่นิยมบรรเลง เพลงสำเนียงมอญ และบทเพลงบรรเลง ประโคมศพ ทุกเพลง